รับทำงบกระแสเงินสดเขตหนองแขม

หนองแขม เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม สภาพเศรษฐกิจดั้งเดิมขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรม แต่ปัจจุบันสภาพพื้นที่เปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากชุมชนเมืองขยายตัวจากพื้นที่ชั้นใน มีผู้ย้ายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยและประกอบอาชีพมากขึ้น พื้นที่การเกษตรจึงเริ่มถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสถานที่ราชการ สถานศึกษา โรงพยาบาล สาธารณสุข สถานีโทรทัศน์ โรงงานอุตสาหกรรม อาคารพาณิชย์ และหมู่บ้านจัดสรร

บริเวณแขวงหนองแขมในอดีตมีสภาพเป็นที่ราบลุ่ม บางแห่งมีน้ำท่วมขังตลอด (หนองน้ำ) และมีต้นแขม (หญ้าขนาดสูงชนิดหนึ่ง) ขึ้นอยู่หนาแน่นเป็นพง ก่อนหน้านั้นเคยมีชื่อเรียกว่า "หนองน้ำแดง" แต่ถูกลืมไปแล้ว จนกระทั่งใน พ.ศ. 2413 พระวินัยธร (คำ) เจ้าอาวาสวัดเชิงเลน ตำบลบางช้าง อำเภอสามพราน เมืองนครปฐม ได้สร้างวัดขึ้นที่ริมหนองน้ำแห่งหนึ่งและตั้งชื่อวัดว่า "วัดหนองแขม" ตามลักษณะของพื้นที่ ส่วนชาวบ้านก็ได้ขุดบ่อไว้ริมหนองเพื่ออาศัยใช้น้ำจืดและเรียกว่า "บ่อหนองแขม"

บริเวณหนองแขมซึ่งมีคลองภาษีเจริญตัดผ่านมีความเจริญและมีผู้คนเพิ่มขึ้น ใน พ.ศ. 2445 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้ง อำเภอหนองแขม ขึ้นตรงต่อกระทรวงนครบาล เนื่องจากทรงเล็งเห็นว่า พื้นที่บริเวณดังกล่าวน่าจะเป็นศูนย์กลางการพัฒนาในย่านฝั่งตะวันตกของพระนครได้ โดยอำเภอหนองแขมสมัยนั้นแบ่งออกเป็น 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองแขม ตำแหน่งกำนันมีชื่อว่าขุนขจรหนองแขมเขตร์, ตำบลหนองค้างพลู มีขุนประเทศหนองแขมขันธ์เป็นกำนัน, ตำบลหลักหนึ่ง มีขุนหนองแขมกนิษฐศรเป็นกำนัน และตำบลหลักสอง มีขุนภิบาลเขตร์นครเป็นกำนัน ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่หน้าโรงจับกัง (บ้านพักคนงาน) ของโรงสีเหลียงเฮงฮวดในปัจจุบัน จนถึง พ.ศ. 2452 จึงย้ายไปตั้งริมคลองภาษีเจริญฝั่งเหนือ บริเวณปากคลองมหาศร หมู่ที่ 5 ตำบลหนองแขม

ครั้นใน พ.ศ. 2472 ทางการได้ลดฐานะอำเภอหนองแขมลงเป็น กิ่งอำเภอหนองแขม ขึ้นกับอำเภอภาษีเจริญ จังหวัดธนบุรี กระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะท้องที่ริมคลองภาษีเจริญ (บางส่วน) ของตำบลหนองแขมขึ้นเป็นสุขาภิบาลหนองแขมใน พ.ศ. 2499 จนถึง พ.ศ. 2501 เมื่อสภาพท้องที่มีความเจริญมากขึ้น จึงมีพระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้ง อำเภอหนองแขม ขึ้นอีกครั้ง ประกอบด้วยเขตการปกครองย่อย 3 ตำบล เนื่องจากตำบลหลักหนึ่งซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นตำบลบางแคนั้น ยังคงอยู่ในการปกครองของอำเภอภาษีเจริญ

จนกระทั่งมีประกาศคณะปฏิวัติให้รวมจังหวัดธนบุรีกับจังหวัดพระนครเข้าด้วยกันเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีใน พ.ศ. 2514[8] และเปลี่ยนรูปแบบเป็นกรุงเทพมหานครใน พ.ศ. 2515[9] โดยยุบเลิกการปกครองท้องถิ่นแบบสุขาภิบาล รวมทั้งเปลี่ยนคำเรียกเขตการปกครองใหม่ อำเภอหนองแขมจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตหนองแขม และใน พ.ศ. 2521 ได้ย้ายที่ว่าการเขตจากปากคลองมหาศร มาตั้งที่หมู่ที่ 7 แขวงหนองค้างพลู ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานเขตปัจจุบัน ต่อมาใน พ.ศ. 2541 กระทรวงมหาดไทยได้แยกแขวงหลักสอง (เฉพาะทางฟากตะวันออกของซอยเพชรเกษม 69 และถนนบางบอน 3) ไปจัดตั้งเป็นเขตบางแค ส่วนพื้นที่แขวงหลักสองเดิม (ที่อยู่ทางฟากตะวันตก) ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของแขวงหนองค้างพลูและแขวงหนองแขมรับทำงบกระแสเงินสดเขตหนองแขม
รับทำงบกระแสเงินสดเขตหนองแขม,งบกระแสเงินสดเขตหนองแขม,ทำงบกระแสเงินสดเขตหนองแขม

งบกระแสเงินสด Cash Flow

หัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า เงินสด ถือเป็นองค์ประกอบที่สำคัญ ที่จะช่วยให้การดำเนินการทางธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่นไม่ติดขัด

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน
กระแสเงินสดที่เกิดจากการดำเนินธุรกิจ ประกอบด้วยรายการรับและจ่ายเงินสดที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมหลักของกิจการ เช่น รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ ต้นทุนขาย ค่าเสื่อมราคา ค่าเช่า ค่าจ้าง ค่าภาษี
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน
กระแสเงินสดที่เกิดจากการลงทุนต่าง ๆ จากการได้มาและจำหน่ายสินทรัพย์ระยะยาวต่าง ๆ เช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ ที่ดิน อาคาร หรือการลงทุนในหลักทรัพย์หรือกิจการอื่น
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุน
กระแสเงินสดที่เกิดจากการจัดหาเงินทุนจากภายนอกกิจการ หรือการใช้เงินทุนจากภายในกิจการ เช่น การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน การซื้อคืนหุ้น หรือการจ่ายปันผล

งบกระแสเงินสด (Cash Flow) คือ?

งบกระแสเงินสด (Statement of Cash Flow) คือ งบการเงินที่แสดงการได้มาและการใช้ไปของเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดในกิจการ ซึ่งจะแสดงการเคลื่อนไหวของเงินสดจากกิจกรรมต่าง ๆ
รายได้ (Income) คือ เงินที่บริษัทได้จากการดำเนินธุรกิจ อาทิเช่น เงินที่ได้จากการขายสินค้าหรือบริการ
รายจ่าย (Expense) คือ เงินที่บริษัทต้องจ่ายในการดำเนินธุรกิจ อาทิ เงินเดือนพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการซื้อวัตถุดิบ

ประโยชน์ของ งบกระแสเงินสด

เป็นงบการเงินที่มีประโยชน์อย่างมากสำหรับเจ้าของธุรกิจ ที่จะช่วยวิเคราะห์สภาพคล่อง แหล่งที่มาของเงินสด และการใช้จ่าย และนี่คือเหตุผลที่ทำไมเจ้าของธุรกิจถึงต้องดูงบกระแสเงินสด

ทราบถึงสภาพคล่อง
ทำให้เจ้าของธุรกิจทราบถึงสภาพคล่องในการดำเนินกิจการ ว่ามีงบกระแสเงินสด หรือ Cash Flow เพียงพอในการดำเนินงาน ชำระหนี้ และแบ่งปันผลตอบแทนหรือไม่
ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางการเงิน
ทำให้เจ้าของธุรกิจทราบถึงการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างทางการเงินของกิจการ ว่ามีการกู้ยืมเงิน ชำระหนี้ จ่ายปันผล หรือออกหุ้นอย่างไร

งบกระแสเงินสดที่ดี ควรเป็นแบบไหน

งบกระแสเงินสด หรือ Cash Flow ที่ดีขึ้นอยู่กับลักษณะของกิจการและวัตถุประสงค์ของผู้อ่านงบ แต่ในหลักการ งบกระแสเงินสดที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

มีกระแสเงินสด จากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวก
กระแสเงินสด หรือ Cash Flow จากกิจกรรมดำเนินงานเป็นตัวสะท้อนถึงความสามารถในการสร้างรายได้และกระแสเงินสดจากการดำเนินธุรกิจของกิจการ หากกิจการมีกระแสเงินสด หรือ Cash Flow จากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวก แสดงว่ากิจการมีความสามารถในการสร้างรายได้และกระแสเงินสดจากการดำเนินธุรกิจ ซึ่งส่งผลดีต่อสภาพคล่องของกิจการ

มีกระแสเงินสด สุทธิเป็นบวก
กระแสเงินสดสุทธิเป็นตัวสะท้อนถึงความสามารถในการสร้างกระแสเงินสดสุทธิจากการดำเนินงานและการลงทุนของกิจการ หากกิจการมีกระแสเงินสดสุทธิเป็นบวก แสดงว่ากิจการมีความสามารถในการทำกำไรและความสามารถในการจ่ายชำระหนี้

กระแสเงินสด จากกิจกรรมลงทุนสอดคล้องกับแผนการลงทุนของกิจการ
หากกระแสเงินสด หรือ Cash Flow จากกิจกรรมลงทุนสอดคล้องกับแผนการลงทุนของกิจการ แสดงว่ากิจการมีการวางแผนการลงทุนอย่างรอบคอบ

กระแสเงินสด จากกิจกรรมจัดหาเงินทุนสอดคล้องกับแผนทางการเงินของกิจการ
กระแสเงินสด หรือ Cash Flow จากกิจกรรมจัดหาเงินทุนเป็นตัวสะท้อนถึงการจัดหาเงินทุนของกิจการ หากกระแสเงินสด หรือ Cash Flow จากกิจกรรมจัดหาเงินทุนสอดคล้องกับแผนทางการเงินของกิจการ แสดงว่ากิจการมีการวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบ

งบกระแสเงินสด หรือ Cash Flow ที่ดี ควรมีกระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงานเป็นบวก กระแสเงินสดสุทธิเป็นบวก กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนสอดคล้องกับแผนการลงทุนของกิจการ และกระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงินทุนสอดคล้องกับแผนทางการเงินของกิจการ และถ้าคุณคือเจ้าของกิจการที่กำลังมองหาตัวช่วยจัดการบริหารเงินของธุรกิจคุณให้ทะยานต่อไปได้ไม่มีสะดุด